วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7

บันทึกอนุทิน
วัน/เดือน/ปี  25  กุมภาพันธ์  2558
ครั้งที่  7  เวลาเรียน  8:30 น. - 12:20 น.
เวลาเข้าสอน  8:30 น.  เวลาเข้าเรียน  8:30 น.  เวลาเลิกเรียน  12:20 น.

หมายเหตุ

                  สัปดาห์นี้เป็นการสอบกลางภาค จึงไม่มีการเรียนการสอนในวันนี้ค่ะ


วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

บันทึกอนุทิน
วัน/เดือน/ปี  18  กุมภาพันธ์  2558
ครั้งที่  6  เวลาเรียน  8:30 น. - 12:20 น.
เวลาเข้าสอน  8:30 น.  เวลาเข้าเรียน  8:30 น.  เวลาเลิกเรียน  12:20 น.

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้

                                     วันนี้ก่อนเริ่มการเรียนการสอนอาจารย์ได้ให้นักศึกษาทำแบบทดสอบจิตวิทยา เพื่อดูว่าความรู้สึกนึกคิดของนักศึกษาในปัจจุบันเป็นอย่างไรบ้าง ชื่อแบบทดสอบ "รถไฟเหาะแห่งชีวิต"
                                     ต่อมาอาจารย์ก็ได้สอนภาคทฤษฎี เรื่อง การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ โดยมีหัวข้อที่เรียน ดังนี้
1. ทักษะทางสังคม
     - กิจกรรมการเล่น
     - ยุทธศาสตร์การสอน
     - การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
     - ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
     - การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
     - ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
                                     ต่อมาเมื่อาจารย์ได้สอนภาคทฤษฎีจบแล้ว อาจารย์ก็มีแบบทดสอบหลังเรียนมาถามนักศึกษา โดยอาจารย์ให้นักศึกษาช่วยกันตอบคำถามภายในห้องเรียน
                                     ต่อมาอาจารย์ก็ได้ทบทวนเพลง ฝึกกายบริหาร ที่อาจารย์ได้ให้นักศึกษาไปฝึกร้องเป็นการบ้านเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยให้นักศึกษาช่วยกันร้องเพลง ฝึกกายบริหาร ให้อาจารย์ฟัง และต่อมาอาจารย์ก็ได้สอนนักศึกษาร้องเพลงที่ใช้สำหรับบำบัดเด็กพิเศษอีก ซึ่งมีทั้งหมด 5 เพลง ดังนี้
1. เพลง ดวงอาทิตย์
2. เพลง ดวงจันทร์
3. เพลง ดอกมะลิ
4. เพลง กุหลาบ
5. เพลง นกเขาขัน 
6. เพลง รำวงดอกมะลิ
ผู้แต่ง  อาจารย์  ศรีนวล    รัตนสุวรรณ
เรียบเรียง อาจารย์  ตฤณ    แจ่มถิน
วันนี้อาจารย์ได้ร้องเพลงที่ใช้สำหรับบำบัดเด็กพิเศษให้นักศึกษาฟังก่อน 2 รอบ แล้วค่อยนักศึกษาร้องตามอาจารย์ และให้นักศึกษาร้องเพลงที่ใช้สำหรับบำบัดเด็กพิเศษให้อาจารย์ฟัง 2 รอบค่ะ
                                     สุดท้ายนี้อาจารย์ก็ได้ให้นักศึกษาทำกิจกรรม เส้นและจุด โดยนักศึกษาต้องจับคู่กับเพื่อน อาจารย์ก็จะแจกกระดาษร้อยปอนด์ให้นักศึกษา 1 แผ่น : 1 คู่ อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละคนออกมาหยิบสีเทียนคนละ 1 สี สีใดก็ได้ แล้วกลับไปนั่งที (นั่งที่โต๊ะหรือพื้นก็ได้ตามสะดวก) อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละคู่สมมติว่าคนนึงเป็นเด็กปกติ คนนึงเป็นเด็กพิเศษ คู่ดิฉัน คือ น.ส.กัตติกา สบานงา ดิฉันเป็นเด็กปกติ ส่วนกัตติกาเป็นเด็กพิเศษค่ะ อาจารย์จะเปิดดนตรีบำบัดเด็กพิเศษให้นักศึกษาฟัง นักศึกษาที่สมมติว่าเป็นเด็กพิเศษ ถ้ารู้สึกอย่างไรให้วาดเส้นไปตามดนตรี (ต้องมีเส้นที่เป็นวงกลมอยู้ด้วย) ส่วนนักศึกษาที่เป็นเด็กปกติ ให้คอยใส่จุด (เล็กหรือใหญ่ก็ได้) ที่ตรงกลางวงกลมที่เพื่อนวาดไว้ พอเวลาผ่านไปสักพัก อาจารย์ก็ปิดเพลงแล้วก็เดินดูผลงานของนักศึกษาทุกคู่ แล้วอาจารย์ก็ให้นักศึกษาแต่ละคู่ช่วยกันมองว่างานที่เราทำสามารถมองเห็นเป็นรูปอะไรได้บ้าง ถ้าเห็นเป็นรูปแล้วให้นำสีเทียนมาระบายทับได้เลย (ตกแต่งเพิ่มได้นิดหน่อย เช่น เพิ่มตา เพิ่มปาก) อาจารย์ชมคู่ของดิฉันว่าวาดเส้นได้อ่อนช้อย ถ้านักศึกษาคู่ไหนทำเสร็จแล้ว ก็นำผลงานมาวางที่หน้าห้อง เพื่อให้อาจารย์และเพื่อนคนอื่นๆได้ดูค่ะ ซึ่งคู่ของดิฉันนั้นมีรูปที่เห็น ดังนี้
1. สุนัข
2. ม้าน้ำ
3. งู
4. เต่า


แบบทดสอบจิตวิทยาค่ะ


แบบทดสอบหลังเรียนวันนี้ค่ะ


เพลงที่ใช้สำหรับบำบัดเด็กพิเศษค่ะ


ก่อนเริ่มทำกิจกรรมค่ะ


เส้นที่วาดมีความอ่อนช้อยค่ะ


ผลงานของคู่ดิฉันค่ะ


ผลงานของเพื่อนๆทุกคู่ค่ะ

สรุป
          จากวันนี้ที่ดิฉันได้เรียนและได้ทำกิจกรรม ทำให้ดิฉันทราบว่า ทักษะต่างๆที่จำเป็นของเด็กพิเศษนั้น มีทั้งหมด 3 ทักษะ ดังนี้ 
1. ทักษะทางภาษา/สังคม
2. ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
3.ทักษะการใช้ชีวิต
นอกจากนี้ดิฉันยังได้รู้เทคนิคต่างๆในการสอนทักษะทางสังคมให้กับเด็กพิเศษอีกมายมาก เช่น การเล่น  - เราควรให้เด็กพิเศษเล่นกับเด็กปกติบ่อยๆ เพื่อที่จะได้เป็นการฝึกทักษะทางสังคมให้กับเด็กพิเศษไปในตัวด้วย  การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง - ครูควรให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆประมาณ 2-4 คน เด็กพิเศษจะเลียนแบบพฤติกรรมของเด็กปกติ ซึ่งจะทำให้ทักษะทางสังคมของเด็กพิเศษมีการพัฒนายิ่งขึ้น เป็นต้น จากการทำกิจกรรมวันนี้ ทำให้ดิฉันได้ฝึกสมาธิและเหมือนเป็นการกระตุ้นจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ ทำให้เรามองเห็นเป็นรูปต่างๆจากจินตนาการของเราค่ะ

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
                1. สามารถนำความรู้ไปใช้ปรับปรุงการสอนของตนเองในการเป็นครูปฐมวัยในอนาคตได้ค่ะ
                2. สามารถนำความรู้ไปใช้พัฒนาทักษะทางสังคมให้กับเด็กพิเศษได้ เพื่อที่เด็กพิเศษจะได้อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างปกติสุข
                3. สามารถนำความรู้ไปเผยแพร่ให้กับผู้ปกครองของเด็กพิเศษได้ เพื่อที่ผู้ปกครองของเด็กพิเศษจะได้นำความรู้ด้านทักษะทางสังคมไปใช้สอนเด็กพิเศษเมื่ออยู่ที่บ้านได้

การประเมินผล

ประเมินตนเอง
                   วันนี้ดิฉันมาก่อนเวลาเรียน ดิฉันแต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย ยิ้มแย้มแจ่มใส ตั้งใจเรียนขณะที่อาจารย์สอน ดิฉันชอบทำแบบทดสอบจิตวิทยาตั้งแต่แรกอยู่แล้ว อยากให้อาจารย์นำแบบทดสอบจิตวิทยามาให้เล่นอีกค่ะ สนุกดีค่ะ

ประเมินเพื่อน
                  วันนี้มีเพื่อนบางคนขาดเรียน บางคนก็มาเรียนสาย เพื่อนส่วนใหญ่ตั้งใจเรียน ตอนที่อาจารย์เฉลยแบบทดสอบจิตวิทยา เพื่อนๆทุกคนดูมีความสุข สนุกเฮฮากันอย่างมาก บางคนก็หัวเราะจนหน้าแดงเลย กิจกรรมเส้นและจุดของเพื่อนแต่ละคู่มีความแตกต่างและหลายหลายมาก ทุกคนตั้งใจทำกิจกรรมกันอย่างดี บางคนก็เห็นเป็นรูปช้าง ผีเสื้อ ดอกไม้ ผลงานของแต่ละคู่มีความสวยงามมากค่ะ

ประเมินอาจารย์
                   วันนี้อาจารย์ใส่เสื้อเอกมาสอน ทำให้อาจารย์ดูกลมกลืนกับนักศึกษามากค่ะ อาจารย์ตั้งใจสอนมากและสอนได้เข้าใจง่ายค่ะ เพราะ อาจารย์มีการยกตัวอย่างและมีเรื่องเล่าจากประสบการณ์ต่างๆมากมายมาเล่าให้ฟัง ทำให้การเรียนในวันนี้ไม่น่าเบื่อค่ะ และกิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำในวันนี้เป็นประโยชน์มากค่ะ สามารถให้เด็กพิเศษกับเด็กปกติทำร่วมกันได้จริงค่ะ









วันศุกร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

บันทึกอนุทิน
วัน/เดือน/ปี  11  กุมภาพันธ์  2558
ครั้งที่  5  เวลาเรียน  8:30 น. - 12:20 น.
เวลาเข้าสอน  8:30 น.  เวลาเข้าเรียน  8:30 น.  เวลาเลิกเรียน  12:20 น.

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้

                                 วันนี้อาจารย์ได้แจกกระดาษรีไซเคิลให้นักศึกษาคนละ 1 แผ่น และถุงมือคนละ 1 ข้าง  ต่อมาอาจารย์ก็ถามนักศึกษาว่า ไหนลองยกมือข้างที่ถนัดขึ้นมา นักศึกษาทุกคนก็ยกมือข้างที่ตนเองถนัดขึ้นมา อาจารย์ก็บอกว่าให้ทุกคนใส่ถุงมือลงไปในมือข้างที่ตนเองไม่ถนัด อาจารย์ก็ถามนักศึกษาว่าทุกคนจำมือข้างที่สวมถุงมือได้ไหม ทุกคนก็ตอบว่าได้ แล้วอาจารย์ก็ให้นักศึกษาทุกคนวาดรูปมือข้างที่สวมถุงมือของตนเอง โดยทุกคนต้องวาดให้เหมือนและต้องเก็บรายละเอียดให้ได้มากที่สุด
ถ้านักศึกษาคนไหนวาดรูปมือของตนเองเสร็จแล้ว ก็ถอดถุงมือออกได้ แล้วนำมือข้างที่ตนเองไม่ถนัดมาเปรียบเทียบกับรูปมือที่ตนเองวาดว่ามีความเหมือนหรือมีความแตกต่างกันมากน้อยเพียงใด
                                 ต่อมาอาจารย์ก็ได้สอนภาคทฤษฎี เรื่อง การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ  โดยมีหัวข้อที่เรียน ดังนี้
1. ทักษะของครู
    1.1 การฝึกเพิ่มเติม
    1.2 การเข้าใจภาวะปกติ
    1.3 การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า
    1.4 ความพร้อมของเด็ก
    1.5 การสอนโดยบังเอิญ
    1.6 อุปกรณ์
    1.7 ตารางประจำวัน
2. ทัศนคติของครู 
    2.1 ความยืดหยุ่น
    2.2 การใช้สหวิทยาการ
3. การเปลี่ยนพฤติกรรมและการเรียนรู้
    3.1 เด็กทุกคนสอนได้
4. เทคนิคการให้แรงเสริม
    4.1 แรงเสริมทางสังคมจากผู้ใหญ่
    4.2 วิธีการแสดงออกถึงแรงเสริมจากผู้ใหญ่
    4.3 หลักการให้แรงเสริมในเด็กปฐมวัย
    4.4 การแนะนำหรือบอกบท (Prompting)
    4.5 ชั้นตอนการให้แรงเสริม
    4.6 การกำหนดเวลา
    4.7 ความต่อเนื่อง
    4.8 เด็กตักซุป
    4.9 การลดหรือหยุดแรงเสริม
5. ความคงเส้นคงวา
                                 ต่อมาเมื่ออาจารย์ได้สอนภาคทฤษฎีจบแล้ว อาจารย์ก็มีแบบทดสอบหลังเรียนมาถามนักศึกษา โดยอาจารย์ให้นักศึกษาช่วยกันตอบภายในห้องเรียน
                                 สุดท้ายนี้อาจารย์ก็ได้ทบทวนเพลง ฝึกกายบริหาร ที่เมื่อครั้งที่แล้วอาจารย์ได้สอนร้องเพลง ฝึกกายบริหารไป โดยอาจารย์ให้นักศึกษาร้องเพลงฝึกกายบริหารไป ให้อาจารย์ฟัง และต่อมาอาจารย์ก็ได้สอนนักศึกษาร้องเพลงที่ใช้สำหรับบำบัดเด็กพิเศษ ซึ่งในวันนี้มีทั้งหมด 5 เพลง ดังนี้
1. เพลง ฝึกกายบริหาร
2. เพลง ผลไม้
3. เพลง กินผักกัน
4. เพลง ดอกไม้
5. เพลง จ้ำจี้ดอกไม้
ผู้แต่ง  อาจารย์  ศรีนวล     รัตนสุวรรณ
เรียบเรียง  อาจารย์  ตฤณ      แจ่มถิน
วันนี้อาจารย์ร้องเพลงที่ใช้สำหรับบำบัดเด็กพิเศษให้นักศึกษาฟังก่อน 2 รอบ แล้วจึงให้นักศึกษาร้องเพลงไปพร้อมๆกับอาจารย์และอาจารย์ให้นักศึกษาร้องเพลงที่ใช้สำหรับบำบัดเด็กพิเศษให้อาจารย์ฟัง
เพลงละ 2 รอบค่ะ


ถุงมือที่ใช้ทำกิจกรรมในวันนี้ค่ะ


สวมถุงมือในมือข้างที่เราไม่ถนัดค่ะ


เปรียบเทียบความเหมือน - ความต่างค่ะ


แบบทดสอบหลังเรียนในวันนี้ค่ะ


เพลงที่ใช้สำหรับบำบัดเด็กพิเศษค่ะ

สรุป
         จากวันนี้ที่ดิฉันได้ทำกิจกรรมวาดรูปมือของตนเอง ทำให้ดิฉันได้รู้อะไรมากขึ้นหลายๆอย่าง สมมติว่ามือเป็นเด็ก คนเป็นครูเห็นเด็กอยู่ทุกวัน ทั้งเทอมครูไม่ควรบันทึกพฤติกรรมเด็กทีเดียวเมื่อตอนปลายเทอม แต่คนที่เป็นครูควรบันทึกพฤติกรรมเด็กตั้งแต่ต้นเทอม โดยเฉพาะพฤติกรรมไหนที่น่าสนใจ ครูจำเป็นต้องควรบันทึกไว้ ครูควรมีกระดาษโน้ตติดตัวอยู่เสมอ เพื่อที่จะสามารถนำมาใช้บันทึกพฤติกรรมเด็กได้ทันท่วงที ครูควรบันทึกพฤติกรรมเด็กและสังเกตพฤติกรรมเด็กอย่างสม่ำเสมอและครูควรทำอย่างเป็นระบบและเป็นประจำ ถ้าครูไม่ได้บันทึกและสังเกตพฤติกรรมเด็กตั้งแต่แรก ครูจะจำไม่ได้ว่าเด็กแต่ละคนมีพฤติกรรมอย่างไรบ้าง สิ่งที่ครูจะทำเมื่อจำพฤติกรรมเด็กไม่ได้ ครูมักจะปฏิบัติ ดังนี้
1. ครูจะคิดไปเองว่าเด็กเป็นอย่างนั้นอย่างนี้
2. ครูจะใส่ความรู้สึกส่วนตัวของตัวเองลงไปในการบันทึกพฤติกรรมเด็ก
3. ครูจะปรึกษากับครูคนอื่น
การบันทึกพฤติกรรมเด็กพิเศษนั้นสำคัญมาก ครูต้องแยกแยะเด็กให้ออกและครูต้องมองเด็กให้ออก ว่าเด็กคนไหนเข้าข่ายเด็กพิเศษบ้าง และที่สำคัญครูต้องมองเด็กทุกคน อย่าหยุดชะงักที่เด็กพิเศษนานเกินไป เพราะ จะทำให้เด็กปกติรู้ปมด้อยของเด็กพิเศษและอาจนำมาล้อเด็กพิเศษได้  เพลงที่ใช้สำหรับบำบัดเด็กพิเศษในวันนี้ เป็นเพลงที่มีจังหวะเร็ว เพลงแต่ละเพลงมีจังหวะและทำนองที่แตกต่างกัน จึงควรฝึกร้องให้ดี ให้คล่องแคล่วก่อนที่จะนำไปใช้บำบัดเด็กพิเศษ

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
              1. สามารถนำความรู้ไปปรับปรุงตนเองในการเป็นครูปฐมวัยในอนาคตได้
              2. สามารถนำความรู้ด้านการร้องเพลงไปใช้บำบัดเด็กพิเศษได้ในชีวิตจริง
              3. สามารถลดหรือหยุดแรงเสริมให้กับเด็กปฐมวัยได้อย่างถูกวิธี

การประเมินผล

ประเมินตนเอง
                 วันนี้ดิฉันมาถึงห้องเรียนก่อนเวลาเรียน แต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย ดิฉันวาดรูปมือของตนเองไม่ค่อยสวยเท่าไร เพราะ ดิฉันไม่ชอบการวาดรูป แต่ดิฉันก็พยายามตั้งใจวาดรูปมือของตนเองจนเสร็จอย่างสุดความสามารถค่ะ ดิฉันรู้สึกมีความสุขที่ได้ร้องเพลงที่ใช้สำหรับบำบัดเด็กพิเศษค่ะ เพราะ มีจังหวะเพลงเร็วและเนื้อเพลงมีความน่าสนใจและเป็นประโยชน์กับเด็กปฐมวัยมากค่ะและวันนี้ดิฉันรู้สึกดีใจ เพราะ ดิฉันมาเช้าได้ดาวเด็กดีเพิ่มจากอาจารย์มา 1 ดวง ทำให้ดิฉันรู้สึกมีกำลังใจมากเลยค่ะ คราวหน้าดิฉันจะพยายามมาให้เช้าอย่างนี้ทุกครั้งเลยค่ะ

ประเมินเพื่อน
                วันนี้มีเพื่อนอีกกลุ่มเรียนนึงมาเรียนด้วย ทำให้สมาชิกภายในห้องเพิ่มขึ้นมาก เพื่อนๆทุกคนแต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย วันนี้มีเพื่อนบางคนขาดเรียน เพื่อนบางคนคุยกันในขณะที่อาจารย์สอน ทำให้อาจารย์ต้องคอยเรียกและเตือนอยู่บ่อยครั้ง

ประเมินอาจารย์
                 วันนี้อาจารย์มาถึงห้องเรียนก่อนดิฉัน อาจารย์ยิ้มแย้มแจ่มใสดีค่ะ อาจารย์มีความตั้งใจสอนอย่างมากและในขณะที่อาจารย์สอนอาจารย์ก็มีการยกตัวอย่างหรือมีเรื่องเล่าจากประสบการณ์ต่างๆมาเล่าให้นักศึกษาฟัง ทำให้นักศึกษาเห็นภาพและเข้าใจในบทเรียนมากยิ่งขึ้นและวันนี้ในตอนที่ร้องเพลงอาจารย์ร้องเพลงได้เพราะมากค่ะ ไม่เพี้ยนเลย ดิฉันจะพยายามฝึกร้องเพลงให้ได้แบบอาจารย์ค่ะ














วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

บันทึกอนุทิน
วัน/เดือน/ปี  4  กุมภาพันธ์  2558
ครั้งที่  4  เวลาเรียน  8:30 น. - 12:20 น.
เวลาเข้าสอน  8:30 น.  เวลาเข้าเรียน  8:30 น.  เวลาเลิกเรียน  12:20 น.

หมายเหตุ

                  สัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากอาจารย์ติดนิเทศน์การสอนพี่ปี 5 ค่ะ