บันทึกอนุทิน
วัน/เดือน/ปี 18 มีนาคม 2558
ครั้งที่ 10 เวลาเรียน 8:30 น. - 12:20 น.
เวลาเข้าสอน 8:30 น. เวลาเข้าเรียน 8:30 น. เวลาเลิกเรียน 12:20 น.
ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
วันนี้ก่อนเริ่มการเรียนการสอนอาจารย์ได้ให้นักศึกษาทำแบบทดสอบจิตวิทยา ชื่อแบบทดสอบ "ไร่สตอว์เบอรี่"
ต่อมาอาจารย์ก็ได้สอนภาคทฤษฎี เรื่อง การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ โดยมีหัวข้อที่เรียน ดังนี้
3. ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
- เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด
- การสร้างความอิสระ
- ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
- หัดให้เด็กทำเอง
- จะช่วยเมื่อไหร่
- ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 2-3 ปี)
- ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 3-4 ปี)
- ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 4-5 ปี)
- ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 5-6 ปี)
- ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
- การเข้าส้วม
- การวางแผนทีละขั้น
ต่อมาอาจารย์ได้ให้นักศึกษาทุกคนทำกิจกรรมวงกลมแห่งจิตใจ กิจกรรมนี้ใช้ทดสอบจิตใจเราว่าลึกๆแล้วเราเป็นคนอย่างไร สามารถนำไปใช้ทดสอบจิตใจของเด็กได้ด้วย อาจารย์ได้แจกกระดาษให้นักศึกษาคนละแผ่น แล้วนำไปตัดแบ่งครึ่งกับเพื่อน กระดาษ 1 แผ่น จะแบ่งได้ 4 คน ต่อมาอาจารย์ก็ได้ให้นักศึกษาเลือกสีเทียนมาคนละ 1 สี แล้วนำมาจุดที่ตรงกลางกระดาษ โดยจะจุดเล็กหรือจุดใหญ่ก็ได้ และต่อมาอาจารย์ก็ให้นักศึกษานำสีเทียนสีอะไรก็ได้มาวงกลมล้อมรอบจุดที่เราได้จุดไว้ โดยจะวงกลมล้อมรอบจุดใหญ่แค่ไหนก็ได้ตามใจเรา ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆจนกว่าจะได้วงกลมที่พอใจ เมื่อเสร็จแล้วให้นำกรรไกรมาตัดตามรูปวงกลมที่เราได้วาดไว้ ต่อมาอาจารย์ก็ได้ให้นักศึกษาทุกคนโชว์ผลงานของตนเองขึ้นมา แล้วอาจารย์ก็ได้เฉลยบอกว่าแต่ละคนเป็นคนอย่างไร ซึ่งจากวงกลมของดิฉันอาจารย์บอกว่า ดิฉันเป็นคนมีความมั่นใจในตนเองและเชื่อมั่นในตนเองสูง ชอบทำอะไรเสร็จทีละอย่าง ไม่ชอบอะไรที่วุ่นวาย แบ่งการคิดอย่างเป็นระบบและไม่ชอบคิดอะไรหลายๆอย่างพร้อมกัน ต่อมาอาจารย์ก็ได้นำภาพลำต้นของต้นไม้มาติดที่กระดานหน้าห้องเรียน แล้วให้นักศึกษาออกมาติดวงกลมของตนเองที่ภาพต้นไม้ทีละคนค่ะ
แบบทดสอบจิตวิทยาในวันนี้ค่ะ
ก่อนเริ่มทำกิจกรรมวงกลมแห่งจิตใจค่ะ
วงกลมของดิฉันค่ะ
ต้นไม้รอการติดวงกลมของทุกคนค่ะ
ต้นไม้แสนสวยจากวงกลมของทุกคนค่ะ
สรุป
จากวันนี้ที่ดิฉันได้เรียนและได้ทำกิจกรรม ทำให้ดิฉันทราบว่า ทักษะการช่วยเหลือตนเองนั้นก็มีความสำคัญและมีความจำเป็นต่อเด็กพิเศษอย่างมาก เพราะ ทุกวันนี้ทุกคนจะต้องช่วยเหลือตนเองได้ โดยเฉพาะผู้ใหญ่ แต่สำหรับเด็กพิเศษนั้น ถ้าเด็กพิเศษสามารถช่วยเหลือตนเองในการใช้ชีวิตประจำวันได้ก็ถือว่าดีแล้ว พ่อ-แม่และครูถือเป็นบุคคลสำคัญที่จะต้องช่วยกันพัฒนาและส่งเสริมทักษะการช่วยเหลือตนเองให้กับเด็ก เพราะ เป็นบุคคลที่ใกล้ชิดและคุ้นเคยกับเด็กมากที่สุด ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเองเสมอ เช่น การเข้าห้องน้ำ การแต่งกาย การรับประทานอาหาร เป็นต้น ครูต้องย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ เช่น ย่อยงานการติดกระดุมเสื้อ เป็นต้น ครูควรช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง ช่วยให้เด็กช่วยเหลือตนเองได้และรู้สึกเป็นอิสระ
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
1. สามารถนำความรู้ภาคทฤษฎีไปใช้พัฒนาและส่งเสริมทักษะการช่วยเหลือตนเองให้กับเด็กพิเศษได้ในชีวิตจริง
2. สามารถนำความรู้จากกิจกรรมไปทดลองใช้กับเด็กปฐมวัยได้ เพื่อจะได้รู้ว่าเด็กแต่ละคนเป็นคนอย่างไรและมีความรู้สึกนึกคิดอย่างไร
3. สามารถนำความรู้ไปประชาสัมพันธ์ให้กับผู้ปกครองของเด็กพิเศษได้ เพื่อที่ผู้ปกครองจะได้นำความรู้ไปใช้พัฒนาและส่งเสริมทักษะการช่วยเหลือตนเองให้กับเด็กพิเศษได้อย่างถูกวิธี
การประเมินผล
ประเมินตนเอง
วันนี้ดิฉันเข้าห้องเรียนช้านิดหน่อย แต่ก็ยังมาทันก่อนที่อาจารย์จะสอน วันนี้อากาศร้อนมาก ทำให้ดิฉันรู้สึกเหนียวตัวและอยากเลิกเรียนไวๆ ในช่วงที่ทำกิจกรรมวงกลมแห่งจิตใจดิฉันรู้สึกตื่นเต้นและประหลาดใจว่ากิจกรรมนี้จะบ่งบอกได้ว่าเราเป็นคนอย่างไรได้จริงๆเหรอ หลังจากที่ทำกิจกรรมเสร็จดิฉันก็รู้สึกว่ากิจกรรมนี้เชื่อถือได้จริงๆ และเหมาะมากที่จะนำไปทดลองใช้กับเด็กปฐมวัยค่ะ
ประเมินเพื่อน
วันนี้มีเพื่อนอีกกลุ่มนึงมาเรียนด้วย ทำให้บรรยากาศในห้องเรียนดูหนาแน่นและสนุกสนานมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะช่วงที่นำวงกลมของแต่ละคนออกไปติดที่ภาพลำต้นของต้นไม้ที่อาจารย์ได้เตรียมมาให้ ยิ่งคนเยอะก็ยิ่งทำให้ต้นไม้ดูสวยและเจริญเติบโตงอกงามมากยิ่งขึ้นค่ะ
ประเมินอาจารย์
วันนี้อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย อาจารย์ยิ้มแย้มแจ่มใสกับนักศึกษาทุกคน ถึงแม้ว่าอาจารย์จะรู้สึกเหนื่อยและเพลียกับอากาศที่ร้อน แต่อาจารย์ก็ยังตั้งใจสอนนักศึกษาเหมือนเดิม อาจารย์หากิจกรรมที่ให้ทำดีมากค่ะ ดิฉันอยากทำกิจกรรมแบบนี้อีก เพราะ สนุกและเป็นประโยชน์มากและสามารถนำไปใช้กับเด็กปฐมวัยได้ค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น