วันอังคารที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 16

บันทึกอนุทิน
วัน/เดือน/ปี  1  พฤษภาคม  2558
ครั้งที่  16  เวลาเรียน  8:30 น. - 12:20 น.
เวลาเข้าสอน  8:30 น.  เวลาเข้าเรียน  8:30 น.  เวลาเลิกเรียน  12:20 น.

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้

                     วันนี้เป็นวันสอบร้องเพลงที่ใช้สำหรับบำบัดเด็กพิเศษ ก่อนเริ่มการสอบ อาจารย์ก็ได้อธิบายกฎและกติกาก่อนว่า มีตัวช่วยอะไรบ้าง และถ้าใช้ตัวช่วยจะโดนหักกี่คะแนน ซึ่งเพลงที่ใช้ในการสอบวันนี้ เป็นเพลงที่อาจารย์เคยสอนร้องแล้วในห้องเรียน อาจารย์ทำสลากเป็นเลขที่ 1 - 30 และสลากรายชื่อเพลงทั้งหมดไว้แล้ว โดยอาจารย์จะเป็นคนจับสลากเลขที่มา ถ้าได้เลขที่ใคร คนนั้นต้องออกมาจับสลากรายชื่อเพลงว่าจะได้สอบร้องเพลงอะไร โดยมีรายชื่อเพลง ดังนี้
1. เพลง นม
2. เพลง อาบน้ำ
3. เพลง แปรงฟัน
4. เพลง พี่น้องกัน
5. เพลง มาโรงเรียน
6. เพลง ฝึกกายบริหาร
7. เพลง ผลไม้
8. เพลง กินผักกัน
9. เพลง ดอกไม้
10. เพลง จ้ำจี้ดอกไม้
11. เพลง ดวงอาทิตย์
12. เพลง ดวงจันทร์
13. เพลง ดอกมะลิ
14. เพลง กุหลาบ
15. เพลง นกเขาขัน
16. เพลง รำวงดอกมะลิ
17. เพลง นกกระจิบ
18. เพลง เที่ยวท้องนา
19. เพลง แม่ไก่ออกไข่
20. เพลง ลูกแมวสิบตัว
21. เพลง ลุงมาชาวนา
ผู้แต่ง  อาจารย์ ศรีนวล   รัตนสุวรรณ
เรียบเรียง  อาจารย์ ตฤณ   แจ่มถิน
ซึ่งดิฉันจับสลากได้เพลง กินผักกัน ดิฉันก็สามารถร้องเพลงได้ อาจารย์ก็ให้ดิฉันร้องเพลง 2 รอบ


อาจารย์กำลังอธิบายก่อนเริ่มการสอบ


ดิฉันกำลังสอบร้องเพลง กินผักกันค่ะ


รักอาจารย์เบียร์ค่ะ

สรุป
                วันนี้เป็นวันสุดท้ายของการเรียนการสอนในรายวิชานี้ เพื่อนๆทุกคนก็ตั้งใจร้องเพลงอย่างดี บางคนก็ร้องไม่ค่อยเข้าจังหวะ เพื่อนๆทุกคนก็คอยช่วยจนทำให้เพื่อนร้องเพลงได้ พอสอบร้องเพลงเสร็จ นักศึกษาทุกคนก็ได้ถ่ายรูปร่วมกับอาจารย์ เพื่อเป็นความประทับใจก่อนปิดคอร์ส และทุกคนก็ได้ช่วยกันร้องเพลงให้กับอาจารย์เบียร์ บางคนก็ซึ้งจนร้องไห้ อาจารย์ก็น้ำตาคลอไปด้วย วันนี้เป็นวันที่ทุกคนมีความสุขมาก เพราะ ทุกคนรักอาจารย์เบียร์มากค่ะ อาจารย์เบียร์เป็นอาจารย์ที่น่ารักเสมอค่ะ

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
1. สามารถนำความรู้ไปใช้บำบัดเด็กที่มีความต้องการพิเศษให้มีพัฒนาการที่ดีขึ้นได้ค่ะ
2. สามารถนำความรู้ที่ได้เรียนทั้งหมดในรายวิชานี้ ไปใช้สอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษให้มีพฤติกรรมและพัฒนาการที่ดีขึ้นได้จริงค่ะ
3. สามารถนำความรู้ไปเผยแพร่ให้ผู้ปกครองของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ นำไปใช้กับลูกของตนเองได้

การประเมินผล

ประเมินตนเอง
                   วันนี้ดิฉันเข้าห้องเรียนสายนิดหน่อย ดิฉันแต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย ดิฉันรู้สึกตื่นเต้นมากกับการสอบร้องเพลงวันนี้ แต่ดิฉันก็สามารถสอบร้องเพลงผ่านไปได้ด้วยดีค่ะ 

ประเมินเพื่อน
                  วันนี้เพื่อนๆบางคนก็เข้าห้องเรียนสาย เพื่อนๆทุกคนแต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย เพื่อนบางคนยังร้องเพลงได้ไม่ตรงจังหวะ ก็มีเพื่อนคอยช่วยบอกและคอยให้กำลังใจจนเพื่อนสามารถร้องเพลงผ่านไปได้ด้วยดี ทุกคนคอยให้กำลังใจกันและช่วยกันอย่างดีในการสอบร้องเพลงวันนี้ค่ะ

ประเมินอาจารย์
                 วันนี้อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ยิ้มแย้มแจ่มใส อาจารย์คอยให้กำลังใจและช่วยเหลือนักศึกษาขณะที่นักศึกษาสอบร้องเพลงอย่างดีค่ะ พอสอบเสร็จนักศึกษาทุกคนก็ช่วยกันร้องเพลงให้อาจารย์เบียร์ อาจารย์เบียร์ซึ้งจนเกือบจะร้องไห้ด้วยค่ะ







วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15

บันทึกอนุทิน
วัน/เดือน/ปี  22  เมษายน  2558
ครั้งที่  15  เวลาเรียน  8:30 น. - 12:20 น.
เวลาเข้าสอน  8:30 น.  เวลาเข้าเรียน  8:30 น.  เวลาเลิกเรียน  12:20 น.

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้

                    วันนี้ก่อนเริ่มการเรียนการสอน อาจารย์ได้ให้นักศึกษาทำแบบทดสอบจิตวิทยา ชื่อแบบทดสอบ "ดิ่งพสุธา"
                    ต่อมาอาจารย์ก็ได้สอนภาคทฤษฎี เรื่อง โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program) โดยมีหัวข้อที่เรียน ดังนี้
แผน IEP
   - การเขียนแผน IEP
   - ส่วนประกอบของแผน IEP
   - ประโยชน์ต่อเด็ก
   - ประโยชน์ต่อครู
   - ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
   - ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
      - 1. การรวบรวมข้อมูล
      - 2. การจัดทำแผน
           - การกำหนดจุดมุ่งหมาย
           - จุดมุ่งหมายระยะยาว
           - จุดมุ่งหมายระยะสั้น
      - 3. การใช้แผน
      - 4. การประเมินผล
- การจัดทำ IEP
                   ต่อมาอาจารย์ก็ได้ให้นักศึกษาทำกิจกรรม โดยให้นักศึกษาจับกลุ่มๆละ 5 คน แล้วช่วยกันเขียนแผน IEP โดยจะเขียนกี่ทักษะก็ได้ ทักษะละกี่อย่างก็ได้ แล้วแต่นักศึกษา โดยให้สมมติว่าเพื่อนในกลุ่ม 1 คน เป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้สมมติให้ น.ส.พรวิมล  ปาผล (โบว์) เป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ โดยเป็นเด็กพิเศษด้านบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ (สมาธิสั้น) พอท้ายคาบอาจารย์ก็ให้ทุกกลุ่มส่งแผน IEP


แบบทดสอบจิตวิทยาในวันนี้ค่ะ


อาจารย์กำลังอธิบายการเขียนแผน IEP ค่ะ

สรุป
                จากวันนี้ที่ดิฉันได้เรียนและได้ทำกิจกรรม ทำให้ดิฉันทราบว่า แผน IEP นั้นต้องใช้อย่างไร มีวิธีการเขียนอย่างไรและต้องนำไปใช้กับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในแต่ละประเภทใช้ระยะเวลานานเท่าไร (ขึ้นอยู่กับอาการของเด็ก) จากกิจกรรม ทำให้ดิฉันได้เรียนรู้และเข้าใจการเขียนแผน IEP มากยิ่งขึ้น ว่าการเขียนแผน IEP ในแต่ละขั้นตอนต้องเป็นอย่างไร ต้องเริ่มจากขั้นไหนเป็นอย่างแรกและที่สำคัญเราต้องปรับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์จากเด็กที่มีความต้องการพิเศษให้ได้

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
                 1. สามารถนำความรู้ไปใช้เขียนแผน IEP เพื่อนำไปใช้ปรับพฤติกรรมเด็กพิเศษได้ในชีวิตจริง
                 2. สามารถนำความรู้ไปใช้ฝึกฝนและพัฒนาทักษะการเขียนแผน IEP ของตนเองให้มีความถูกต้องและเหมาะสมตามหลักการ
                 3. สามารถนำความรู้ไปใช้เป็นแนวทางในการเรียนรู้พฤติกรรมของเด็กที่มีความต้องการพิเศษมากยิ่งขึ้น

การประเมินผล

ประเมินตนเอง
                 วันนี้ดิฉันแต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย มาเรียนทันเวลา ตอนแรกดิฉันไปผิดห้องเรียน จึงโทรศัพท์หาเพื่อน เลยรีบขึ้นไปห้องเรียนทันที เพราะ กลัวว่าจะเข้าเรียนสาย ดิฉันตั้งใจเรียนและร่วมกิจกรรมตอบคำถามแบบทดสอบจิตวิทยา และดิฉันก็ตั้งใจเขียนแผน IEP งานกลุ่มที่อาจารย์สั่งให้ทำอย่างเต็มที่ค่ะ

ประเมินเพื่อน
                 วันนี้เพื่อนๆทุกคนแต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย เพื่อนๆส่วนใหญ่มาสาย เพราะ หาห้องเรียนไม่เจอ (เนื่องจากย้ายห้องเรียน) วันนี้มีเพื่อนอีกกลุ่มมาเรียนด้วย ทำให้ภายในห้องเรียนมีสมาชิกเพิ่มมากขึ้น บรรยากาศในการเรียนวันนี้เลยสนุกสนาน ครึกครื้นมากยิ่งขึ้นค่ะ

ประเมินอาจารย์
                 วันนี้อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย อาจารย์มีแบบทดสอบจิตวิทยามาให้นักศึกษาทำก่อนเริ่มเรียน เป็นการกระตุ้นนักศึกษาก่อนเรียนได้เป็นอย่างดีค่ะ ทุกคนมีความสนใจและตั้งใจฟังมากค่ะ วันนี้อาจารย์สอนเขียนแผน  IEP ได้อย่างละเอียดและอาจารย์ใช้การอธิบายที่เข้าใจง่ายด้วยค่ะและอาจารย์มีความตั้งใจในการสอนมากๆเลยค่ะ




วันอังคารที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

บันทึกอนุทิน
วัน/เดือน/ปี  15  เมษายน  2558
ครั้งที่  14  เวลาเรียน  8:30 น. - 12:20 น.
เวลาเข้าสอน  8:30 น.  เวลาเข้าเรียน  8:30 น. - เวลาเลิกเรียน  12:20 น.

หมายเหตุ

                      วันนี้เป็นวันสงกรานต์ (วันพญาวัน,วันเถลิงศก)  จึงไม่มีการเรียนการสอนในวันนี้ค่ะ


15 เมษายนเป็นวันสงกรานต์(วันพญาวัน,วันเถลิงศกค่ะ)


บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

บันทึกอนุทิน
วัน/เดือน/ปี  8  เมษายน  2558
ครั้งที่  13  เวลาเรียน  8:30 น. - 12:20 น.
เวลาเข้าสอน  8:30 น.  เวลาเข้าเรียน  8:30 น.  เวลาเลิกเรียน  12:20 น.

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้

                                     วันนี้ก่อนเริ่มการเรียนการสอนอาจารย์ได้เฉลยข้อสอบเก็บคะแนนที่เคยให้สอบไป ว่าแต่ละข้อตอบว่าอะไรบ้าง ทำไมถึงตอบอย่างนี้ และถ้าตอบแบบไหนได้คะแนนเท่าไร
                                     ต่อมาอาจารย์ก็ได้สอนภาคทฤษฎี เรื่อง การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ โดยมีหัวข้อที่เรียน ดังนี้
4. ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
    - เป้าหมาย
    - ช่วงความสนใจ
    - การเลียนแบบ
    - การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
    - การรับรู้ การเคลื่อนไหว
    - การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก
    - ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ
    - ความจำ
    - ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
    - การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
                                    ต่อมาเมื่ออาจารย์ได้สอนภาคทฤษฎีจบแล้ว อาจารย์ก็ได้สอนนักศึกษาร้องเพลงที่ใช้สำหรับบำบัดเด็กพิเศษ ซึ่งในวันนี้มีทั้งหมด 5 เพลง ดังนี้
1. เพลง นกกระจิบ
2. เพลง เที่ยวท้องนา
3. เพลง แม่ไก่ออกไข่
4. เพลง ลูกแมวสิบตัว
5. เพลง ลุงมาชาวนา
ผู้แต่ง  อาจารย์  ศรีนวล    รัตนสุวรรณ
เรียบเรียง  อาจารย์  ตฤณ    แจ่มถิน
วันนี้อาจารย์ได้ร้องเพลงที่ใช้สำหรับบำบัดเด็กพิเศษให้นักศึกษาฟังก่อนประมาณ 2 รอบ แล้วให้นักศึกษาร้องตาม และให้นักศึกษาช่วยกันร้อง


ระหว่างที่อาจารย์เฉลยข้อสอบค่ะ


อาจารย์กำลังอธิบายว่ากรรไกรแบบไหนที่เหมาะกับเด็กปฐมวัยควรใช้


เพลงที่ใช้สำหรับบำบัดเด็กพิเศษค่ะ

สรุป
             จากวันนี้ที่ดิฉันได้เรียน ทำให้ดิฉันทราบว่า ทักษะพื้นฐานทางการเรียนนั้นก็มีความสำคัญกับเด็กพิเศษอย่างมาก เพราะ ไม่ว่าจะเป็นเด็กปกติหรือเด็กพิเศษก็ต้องการที่จะมีทักษะพื้นฐานทางการเรียนไปใช้ติดตัวในการเรียนและการใช้ชีวิตประจำวันทั้งนั้น เด็กทุกคนต้องได้รับทักษะพื้นฐานทางการเรียน เพราะ เด็กถือเป็นอนาคตของชาติ และเด็กปฐมวัยถือเป็นวัยทองของการเรียนรู้ เพราะฉะนั้น เราควรส่งเสริมและพัฒนาทักษะด้านต่างๆให้กับเด็กปฐมวัยจะดีมากค่ะ

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
                  1. สามารถนำความรู้ด้านทฤษฎีไปใช้พัฒนาและส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางการเรียนให้กับเด็กพิเศษได้ในชีวิตจริง
                  2. สามารถนำความรู้จากเพลงไปใช้บำบัดเด็กพิเศษได้ โดยการร้องเพลงให้เด็กพิเศษฟังหรือให้เด็กพิเศษร้องเพลงตามเราก็ได้ค่ะ
                  3. สามารถนำความรู้ไปเผยแพร่ให้กับผู้ปกครองของเด็กพิเศษได้ เพื่อเป็นวิทยาทานและเพื่อให้ผู้ปกครองสามารถพัฒนาและส่งเสริมทักษะต่างๆให้กับลูกได้เมื่ออยู่ที่บ้าน

การประเมินผล

ประเมินตนเอง
                     วันนี้ดิฉันเข้าห้องเรียนหลังอาจารย์ 2 นาที ดิฉันแต่งกายสุภาพเรียบร้อย ยิ้มแย้มแจ่มใส วันนี้ฝนตกหนักตอนเช้า ทำให้ดิฉันเปียกฝนเกือบทั้งตัว เพราะ ดิฉันมารถมอเตอร์ไซด์กับเพื่อน แต่ดิฉันก็ยังมาเรียนทันเวลา และดิฉันรู้สึกดีใจที่อาจารย์แจกสีให้คนละ 1 กล่องค่ะ และดิฉันรู้สึกตื่นเต้นที่รู้ว่าอาจารย์จะให้นักศึกษาสอบร้องเพลงที่ใช้สำหรับบำบัดเด็กพิเศษด้วยค่ะ ทำให้ดิฉันต้องไปให้ร้องเพลงที่ใช้สำหรับบำบัดเด็กพิเศษให้มากขึ้นค่ะ

ประเมินเพื่อน
                    วันนี้เพื่อนบางคนก็มาถึงห้องเรียนก่อนที่ฝนจะตก เพื่อนๆส่วนใหญ่มาเรียนสาย เพราะ เมื่อเช้าฝนตกหนัก บางคนก็มาถึงห้องเรียนประมาณ 10 โมง บางคนก็มาโดยที่ใส่รองเท้าแตะ เพราะ น้ำท่วม วันนี้มีเพื่อนอีกกลุ่มนึงมาเรียนด้วย ทำให้บรรยากาศในการเรียนในวันนี้ดูสนุกสนานมากยิ่งขึ้นค่ะ เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียนอย่างดีค่ะ

ประเมินอาจารย์
                    วันนี้อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าสอนตรงเวลา ร่าเริงแจ่มใส อาจารย์ตั้งใจสอนมากค่ะและอาจารย์มีการยกตัวอย่างต่างๆทำให้นักศึกษาเข้าใจง่ายมากยิ่งขึ้นค่ะ อาจารย์ใจดีมากค่ะ อาจารย์ไม่ว่าเพื่อนที่มาสาย เพราะ อาจารย์เข้าใจว่าฝนตก ทำให้การเดินทางลำบากมากยิ่งขึ้นค่ะ




วันอาทิตย์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12

บันทึกอนุทิน
วัน/เดือน/ปี  1  เมษายน  2558
ครั้งที่  12  เวลาเรียน  8:30 น. - 12:20 น.
เวลาเข้าสอน  8:30 น.  เวลาเข้าเรียน  8:30 น.  เวลาเลิกเรียน  12:20 น.

หมายเหตุ

                  วันนี้มีกิจกรรม "โครงการกีฬาศึกษาศาสตร์สัมพันธ์"  จึงไม่มีการเรียนการสอนในวันนี้ค่ะ


ระหว่างรอเชียร์กีฬาค่ะ


บูมก่อนเลิกกิจกรรมกีฬาสีค่ะ

การประเมินผล

ประเมินตนเอง
                     วันนี้ดิฉันได้มาร่วมกิจกรรม "โครงการกีฬาศึกษาศาสตร์สัมพันธ์" จนจบงาน ดิฉันรู้สึกดีใจและภูมิใจที่เอกการศึกษาปฐมวัยได้เชียร์ลีดเดอร์และกองเชียร์รางวัลที่ 1 ค่ะ และในขณะที่เพื่อนแข่งกีฬา ดิฉันก็ช่วยเชียร์เต็มที่ค่ะ

ประเมินเพื่อน
                     วันนี้เพื่อนๆมากันน้อยมาก บางคนก็มาดูกีฬาแปบเดียวก็กลับบ้านก่อน ไม่อยู่รอจนจบงาน ส่วนเพื่อนๆที่ลงแข่งกีฬาก็พยายามแข่งอย่างสุดความสามารถ ทุกคนก็ช่วยกันเชียร์กีฬาอย่างเต็มที่และทำดีที่สุดแล้วค่ะ

ประเมินอาจารย์
                    วันนี้อาจารย์ก็ร่วมเดินขบวนพาเหรดและเชียร์กีฬา อาจารย์ดูเหนื่อยๆและเพลีย เนื่องจากอากาศช่วงบ่ายร้อนมาก แต่อาจารย์ก็อยู่เชียร์กีฬาจนจบงาน อาจารย์ทุ่มเทให้กับเอกการศึกษาปฐมวัยมากค่ะ



วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

บันทึกอนุทิน
วัน/เดือน/ปี  25  มีนาคม  2558
ครั้งที่  11  เวลาเรียน  8:30 น. - 12:20 น.
เวลาเข้าสอน  8:30 น.  เวลาเข้าเรียน  8:30 น.  เวลาเลิกเรียน  12:20 น.

หมายเหตุ

                 วันนี้เป็นวันสอบเก็บคะแนนในห้องเรียน  จึงไม่มีการเรียนการสอนในวันนี้

 ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การสอบ

การประเมินผล

ประเมินตนเอง
                       วันนี้ดิฉันแต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย ร่าเริงแจ่มใส ดิฉันรู้สึกตื่นเต้นก่อนการทำข้อสอบอย่างมาก แต่ดิฉันก็ทำข้อสอบได้ เพราะ ที่ผ่านมาดิฉันตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังอาจารย์และคอยจดสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่างๆในตอนที่อาจารย์ได้ยกตัวอย่างให้ฟัง

ประเมินเพื่อน
                     วันนี้ไม่มีเพื่อนขาดสอบ ทุกคนตั้งใจทำข้อสอบกันอย่างเต็มที่ เพื่อนบางคนก็ปรึกษาหารือกับเพื่อนที่นั่งข้างๆระหว่างการทำข้อสอบ

ประเมินอาจารย์
                   วันนี้อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ยิ้มแย้มแจ่มใส อาจารย์ใจดีมากที่ให้นักศึกษาเปิดดูแนวคิด/หลักการจากในชีทที่เรียนได้และนอกจากนี้อาจารย์ยังเปิดโอกาสให้นักศึกษาถามคำถามอะไรก็ได้ โดย 1 คน ถามได้ 1 คำถามเท่านั้น

วันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

บันทึกอนุทิน
วัน/เดือน/ปี  18  มีนาคม  2558
ครั้งที่  10  เวลาเรียน  8:30 น. - 12:20 น.
เวลาเข้าสอน  8:30 น.  เวลาเข้าเรียน  8:30 น.  เวลาเลิกเรียน  12:20 น.

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้

                                     วันนี้ก่อนเริ่มการเรียนการสอนอาจารย์ได้ให้นักศึกษาทำแบบทดสอบจิตวิทยา ชื่อแบบทดสอบ "ไร่สตอว์เบอรี่"
                                     ต่อมาอาจารย์ก็ได้สอนภาคทฤษฎี เรื่อง การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ โดยมีหัวข้อที่เรียน ดังนี้
3. ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
    - เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด
    - การสร้างความอิสระ
    - ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
    - หัดให้เด็กทำเอง
    - จะช่วยเมื่อไหร่
    - ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 2-3 ปี)
    - ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 3-4 ปี)
    - ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 4-5 ปี)
    - ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 5-6 ปี)
    - ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
    - การเข้าส้วม
    - การวางแผนทีละขั้น
                                    ต่อมาอาจารย์ได้ให้นักศึกษาทุกคนทำกิจกรรมวงกลมแห่งจิตใจ กิจกรรมนี้ใช้ทดสอบจิตใจเราว่าลึกๆแล้วเราเป็นคนอย่างไร สามารถนำไปใช้ทดสอบจิตใจของเด็กได้ด้วย อาจารย์ได้แจกกระดาษให้นักศึกษาคนละแผ่น แล้วนำไปตัดแบ่งครึ่งกับเพื่อน กระดาษ 1 แผ่น จะแบ่งได้ 4 คน ต่อมาอาจารย์ก็ได้ให้นักศึกษาเลือกสีเทียนมาคนละ 1 สี แล้วนำมาจุดที่ตรงกลางกระดาษ โดยจะจุดเล็กหรือจุดใหญ่ก็ได้ และต่อมาอาจารย์ก็ให้นักศึกษานำสีเทียนสีอะไรก็ได้มาวงกลมล้อมรอบจุดที่เราได้จุดไว้ โดยจะวงกลมล้อมรอบจุดใหญ่แค่ไหนก็ได้ตามใจเรา ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆจนกว่าจะได้วงกลมที่พอใจ เมื่อเสร็จแล้วให้นำกรรไกรมาตัดตามรูปวงกลมที่เราได้วาดไว้ ต่อมาอาจารย์ก็ได้ให้นักศึกษาทุกคนโชว์ผลงานของตนเองขึ้นมา แล้วอาจารย์ก็ได้เฉลยบอกว่าแต่ละคนเป็นคนอย่างไร ซึ่งจากวงกลมของดิฉันอาจารย์บอกว่า ดิฉันเป็นคนมีความมั่นใจในตนเองและเชื่อมั่นในตนเองสูง ชอบทำอะไรเสร็จทีละอย่าง ไม่ชอบอะไรที่วุ่นวาย แบ่งการคิดอย่างเป็นระบบและไม่ชอบคิดอะไรหลายๆอย่างพร้อมกัน ต่อมาอาจารย์ก็ได้นำภาพลำต้นของต้นไม้มาติดที่กระดานหน้าห้องเรียน แล้วให้นักศึกษาออกมาติดวงกลมของตนเองที่ภาพต้นไม้ทีละคนค่ะ


แบบทดสอบจิตวิทยาในวันนี้ค่ะ


ก่อนเริ่มทำกิจกรรมวงกลมแห่งจิตใจค่ะ


วงกลมของดิฉันค่ะ


ต้นไม้รอการติดวงกลมของทุกคนค่ะ


ต้นไม้แสนสวยจากวงกลมของทุกคนค่ะ

สรุป
              จากวันนี้ที่ดิฉันได้เรียนและได้ทำกิจกรรม ทำให้ดิฉันทราบว่า ทักษะการช่วยเหลือตนเองนั้นก็มีความสำคัญและมีความจำเป็นต่อเด็กพิเศษอย่างมาก เพราะ ทุกวันนี้ทุกคนจะต้องช่วยเหลือตนเองได้ โดยเฉพาะผู้ใหญ่ แต่สำหรับเด็กพิเศษนั้น ถ้าเด็กพิเศษสามารถช่วยเหลือตนเองในการใช้ชีวิตประจำวันได้ก็ถือว่าดีแล้ว พ่อ-แม่และครูถือเป็นบุคคลสำคัญที่จะต้องช่วยกันพัฒนาและส่งเสริมทักษะการช่วยเหลือตนเองให้กับเด็ก เพราะ เป็นบุคคลที่ใกล้ชิดและคุ้นเคยกับเด็กมากที่สุด ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเองเสมอ เช่น การเข้าห้องน้ำ การแต่งกาย การรับประทานอาหาร เป็นต้น ครูต้องย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ เช่น ย่อยงานการติดกระดุมเสื้อ เป็นต้น ครูควรช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง ช่วยให้เด็กช่วยเหลือตนเองได้และรู้สึกเป็นอิสระ 

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
                    1. สามารถนำความรู้ภาคทฤษฎีไปใช้พัฒนาและส่งเสริมทักษะการช่วยเหลือตนเองให้กับเด็กพิเศษได้ในชีวิตจริง
                    2. สามารถนำความรู้จากกิจกรรมไปทดลองใช้กับเด็กปฐมวัยได้ เพื่อจะได้รู้ว่าเด็กแต่ละคนเป็นคนอย่างไรและมีความรู้สึกนึกคิดอย่างไร
                    3. สามารถนำความรู้ไปประชาสัมพันธ์ให้กับผู้ปกครองของเด็กพิเศษได้ เพื่อที่ผู้ปกครองจะได้นำความรู้ไปใช้พัฒนาและส่งเสริมทักษะการช่วยเหลือตนเองให้กับเด็กพิเศษได้อย่างถูกวิธี

การประเมินผล

ประเมินตนเอง
                       วันนี้ดิฉันเข้าห้องเรียนช้านิดหน่อย แต่ก็ยังมาทันก่อนที่อาจารย์จะสอน วันนี้อากาศร้อนมาก ทำให้ดิฉันรู้สึกเหนียวตัวและอยากเลิกเรียนไวๆ ในช่วงที่ทำกิจกรรมวงกลมแห่งจิตใจดิฉันรู้สึกตื่นเต้นและประหลาดใจว่ากิจกรรมนี้จะบ่งบอกได้ว่าเราเป็นคนอย่างไรได้จริงๆเหรอ หลังจากที่ทำกิจกรรมเสร็จดิฉันก็รู้สึกว่ากิจกรรมนี้เชื่อถือได้จริงๆ และเหมาะมากที่จะนำไปทดลองใช้กับเด็กปฐมวัยค่ะ

ประเมินเพื่อน
                     วันนี้มีเพื่อนอีกกลุ่มนึงมาเรียนด้วย ทำให้บรรยากาศในห้องเรียนดูหนาแน่นและสนุกสนานมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะช่วงที่นำวงกลมของแต่ละคนออกไปติดที่ภาพลำต้นของต้นไม้ที่อาจารย์ได้เตรียมมาให้ ยิ่งคนเยอะก็ยิ่งทำให้ต้นไม้ดูสวยและเจริญเติบโตงอกงามมากยิ่งขึ้นค่ะ

ประเมินอาจารย์
                   วันนี้อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย อาจารย์ยิ้มแย้มแจ่มใสกับนักศึกษาทุกคน ถึงแม้ว่าอาจารย์จะรู้สึกเหนื่อยและเพลียกับอากาศที่ร้อน แต่อาจารย์ก็ยังตั้งใจสอนนักศึกษาเหมือนเดิม อาจารย์หากิจกรรมที่ให้ทำดีมากค่ะ ดิฉันอยากทำกิจกรรมแบบนี้อีก เพราะ สนุกและเป็นประโยชน์มากและสามารถนำไปใช้กับเด็กปฐมวัยได้ค่ะ